การอ่านค่าตัวต้านทานแบบแถบสี สามารถดูได้จากตาราง ซึ่งสามารถอ่านได้ทั้งแบบ 4 แถบสีและแบบ 5แถบสี (ถ้าอ่านแบบ 4 แถบสีเราจะข้ามแถวที่ 3 ไป)
หน่วยของค่าความต้านทาน ( Resistance ) มีหน่วยการวัดเป็นโอห์ม ( Ohm ) ความหมาย “ โอห์ม” คือ ค่าความต้านทานที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ 1 แอมป์ มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าตกคร่อม ตัวต้านทาน 1 โอห์ม
หน่วยของความต้านทาน ( Unit of Resistance)
1,000โอห์ม เท่ากับ 1 กิโลโอห์ม ( Kilo Ohm )
หน่วยของความต้านทาน ( Unit of Resistance)
1,000โอห์ม เท่ากับ 1 กิโลโอห์ม ( Kilo Ohm )
10,000โอห์ม เท่ากับ 10 กิโลโอห์ม
100,000โอห์ม เท่ากับ 100 กิโลโอห์ม
1,000,000 โอห์ม เท่ากับ 1,000 กิโลโอห์ม หรือ 1 เมกกะโอห์ม ( Mega Ohm )
วิธีการอ่านค่าความต้านทาน
จะมีลักษณะการอ่านอยู่ 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1 การอ่านค่าความต้านทาน ค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อน และอัตราทนกำลังไฟฟ้าจากค่าที่พิมพ์ติดไว้บนตัวต้านทานได้เลย อันได้แก่ ตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์ เป็นต้น
วิธีที่ 2 การอ่านค่าเป็นโค้ดสีของตัวความต้านทาน ( Resistor Colour Code ) จะเป็นตัวความต้านทานที่มีอัตราทนกำลังไฟฟ้าต่ำๆ ส่วนมากจะเป็นค่าความจำพวก คาร์บอน ฟิล์ม – คาร์บอน และฟิล์มโลหะ การอ่านค่าโค้ดสีของตัวความต้านทานจากลักษณะของตัวความต้านทาน ได้ดังนี้ 1. ระบบ “ หัวถึงปลาย” ( End to Center band System ) คือ ตัวความต้านทานที่มีลักษณะของการต่อขาใช้งานออกมาตามความยาวกับตัวความต้านทาน หรือเรียกแบบนี้ว่า แบบสายต่อทางแกน ( Axial ) 2. ระบบ “ตัวหัวจุด” ( Body- end- dot System ) คือ ตัวความต้านทานที่มีลักษณะการต่อขาใช้งานในแนวรัศมี หรือเรียกว่า แบบสายต่อทางข้าง ( Radial )
การอ่านค่าโค้ดสีแบบ 3 หรือ 4 แถบสีจะมีลักษณะของการอ่านที่เหมือนกัน ดังแสดงรายละเอียดการอ่านดังรูป โดยปกติจะเริ่มอ่านค่าแถบสีที่อยู่ชิดปลายข้างใดข้างหนึ่งของตัวต้านทานก่อน
วิธีการอ่านค่าโค้ดสี
- แถบที่ 1 คือ ตัวเลขตัวตั้งที่
-แถบที่ 2 คือ ตัวเลขตัวตั้งที่ 2
-แถบที่ 3 คือ ตัวคูณหรือการแทนจำนวนเลขศูนย์
-แถบที่ 4 คือ สีที่บอกถึงเปอร์เซนต์ค่าความคลาดเคลื่อนของค่าความต้านทาน (%)
การอ่านค่าโค้ดสีแบบ 3 แถบสี
อ่านค่าได้ค่าความต้านทาน = 330 โอห์ม +_20%การอ่านค่าความต้านทานแบบ 4 แถบสี
วิธีการอ่านดังนี้
แถบที่1 จะเป็นตั้งตั้ง หลักที่1
แถบที่2 จะเป็นตั้งตั้ง หลักที่2
แถบที่3 จะเป็นตัวคูณ
แถบที่4 จะเป็นเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาด
ตัวอย่างที่ แถบสี แดง ดำ น้ำตาล ทอง
แดง ดำ น้ำตาล ทอง
2 0 x10 + 5 %
อ่านได้ 200 โอห์ม ค่าความผิดพลาด + 5 %
การอ่านค่าโค้ดสีแบบ 4 แถบสี
อ่านได้ค่าความต้านทาน = 330 โอห์ม +_ 5%การอ่านค่าความต้านทานแบบ 5 แถบสี
วิธีการอ่านดังนี้แถบที่1 จะเป็นตั้งตั้ง หลักที่1
แถบที่2 จะเป็นตั้งตั้ง หลักที่2
แถบที่3 จะเป็นตั้งตั้ง หลักที่3
แถบที่4 จะเป็นตัวคูณ
แถบที่5 จะเป็นเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาด
ตัวอย่าง
แถบสี แดง ดำ น้ำตาล แดง แดง
แดง ดำ น้ำตาล แดง แดง
2 0 1 x100 + 2 %
อ่านได้ 20100 โอห์ม หรือ 20.1 กิโลโอห์ม ค่าความผิดพลาด + 2 %
แดง ดำ น้ำตาล แดง แดง
2 0 1 x100 + 2 %
อ่านได้ 20100 โอห์ม หรือ 20.1 กิโลโอห์ม ค่าความผิดพลาด + 2 %
แบบ 6 สี
ความต้านทานแบบ 6 สี จะอ่านค่า 5 แถบสีแรกแบบความต้านทาน 5 แถบสี ส่วนสีที่ 6 คือค่า Temperrature Coefdicient (CT) หรือสัมประสิทธ์ทางอุณหภูมิ มีหน่วยเป็น ppm (part per million : ส่วนในล้านส่วน) เป็นค่าแสดงลักษณะการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทาน เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป
แหล่งอ้างอิง
การอ่านค่าความต้านทาน. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:http://sites.google.com/site/velectronic1/resistor/colorcode
การอ่านค่าความต้านทาน. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:http://www.kkw.ac.th/kkwweb/teacherhead/elec/web%20electric/page17-19.htm
การอ่านตัวความต้านทาน. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:http://www.basiclite.com/web/index.php?topic=62.0